Similarity and Dissimilarity between Information Security and Information Assurance

Similarity and Dissimilarity between Information Security and Information Assurance AuthorsNathaporn Utakrit, KMUTNBNattavee Utakrit, KMUTNB The advent of the Internet completely upends the globe and, in just decades, have changed everything about how people communicate and share and exchange information by…

Continue Reading

12 ปัจจัย แห่งเศรษฐกิจยุคใหม่ Digital Economy Ep.01

12 ปัจจัยแห่งเศรษฐกิจยุคใหม่ ‘Digital Economy’ การทำความเข้าใจแก่นแท้ทั้ง 12 ประการจะทำให้คุณรู้ซึ้งถึงความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจยุคใหม่กับยุคเก่า มันทำให้คุณพร้อมรับมือและสร้างการเปลี่ยนรูปองค์กรของคุณได้สำเร็จ ปัจจัยที่ 1 : องค์ความรู้ “เศรษฐกิจยุคใหม่คือ เศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้” เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เศรษฐกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์หรือ "เทคโนโลยีที่ฉลาด” อะไรก็ตามมันก็มีปัญญาของมนุษย์เป็นพื้นฐาน James Brian Quinn ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ Intelligent Enterprise ว่า “การยกระดับสติปัญญาและเพิ่มการสนับสนุน การมีเทคโนโลยีเพื่องานบริการ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงทำให้อุตสาหกรรมบริการเปลี่ยนรูปไปเท่านั้น แต่มันยังทำให้ภาคการผลิตของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนรูปไปทั่วทั้งประเทศอีกด้วย รวมถึงโครงสร้างการจ้างงานและจุดยืนของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ” สินค้าและบริการจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญด้วยแนวคิดความรู้และเทคโนโลยี ที่แฝงอยู่ในตัวของพวกมันเอง เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่ “สินค้าฉลาด” เริ่มเข้ามาปฏิวัติสังคมในทุกแง่ทุกมุม •    เสื้อผ้าสมาร์ท   •    สมาร์ทการ์ด  …

Continue Reading

E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

E-Business และ E-Commerce ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อการประสานงาน เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล การไหลของข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนในการใช้กระดาษ การลดต้นทุนการเดินทาง ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของธุรกิจให้เป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า E-Business และ E-Commerce มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตนั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้มีการเรียกชื่อแตกย่อยเป็นกระบวนการต่างๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ E-Business, E-Commerce, E-Collaboration, E-CRM, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Business Intelligence…

Continue Reading

Ep.6 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

หลังจากที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับงบแสดงฐานะทางการเงินมาแล้ว วันนี้เราจะมารู้จักกับงบที่ 2 คือ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นงบที่ใช้แสดงถึงผลประกอบการของบริษัทในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น หากเป็นงบรายไตรมาสก็จะแสดงให้เห็นว่า 3 เดือนที่ผ่านมาบริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้หรือไม่ เป็นต้น โดยงบนี้จะเริ่มต้นจากรายได้ในส่วนที่ 1 หักต้นทุนขายในส่วนที่ 2 จะกลายเป็นกำไรขั้นต้นในส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสามารถในการแข่งขันของบริษัท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่สูงหมายความว่าบริษัทมีอำนาจต่อรองที่ค่อนข้างสูงด้วย จากกำไรขั้นต้นหักค่าใช้จ่ายอื่นในส่วนที่ 4 จะได้กำไรจากการดำเนินงานในส่วนที่ 5 หรือ EBIT ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจากการดำเนินงานทั้งหมดบริษัทมีผลกำไรเท่าไหร โดยค่าใช้จ่ายอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งหมายรวมถึงค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วย จากกำไรจากการดำเนินงานหักดอกเบี้ยและภาษีในส่วนที่ 6 จะเป็นกำไรสุทธิของบริษัทในส่วนที่ 7 ซึ่งบริษัทสามารถเก็บกำไรส่วนนี้ไว้ลงทุนต่อ หรือจ่ายปันผลออกมาก็ได้ จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทนี้มี รายได้ 5,832.78 ล้านบาทต้นทุนขาย (COGs)…

Continue Reading

Warehouse Management Vs Inventory Management

Warehouse management และ Inventory management มีความแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจสงสัย เนื่องจากในการทำงานของทั้ง 2 เรื่องมีบางสิ่งที่คล้ายกันจนบางครั้งมีการนำใช้เป็นคำเรียกแทนกันในการทำงาน หรือมีการออกแบบระบบงานให้ครอบคลุมถึงกัน อย่างเช่น ระบบ Warehouse Management System (WMS) ที่มีอยู่ในท้องตลาดบางระบบก็มีฟังก์ชันการทำงานของ Inventory management รวมอยู่ด้วย ความแตกต่างระหว่างการจัดการคลังสินค้า และการจัดการสินค้าคงคลัง แท้จริงแล้ว 2 คำนี้มันคืออะไร มีความคล้ายกันหรือความแตกต่างกันอย่างไร ความคล้ายกัน ก่อนที่เราจะไปพูดถึงความแตกต่างกันระหว่างคำ 2 คำนี้ สิ่งแรกที่ควรจะทราบก็คือ ทั้งคู่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า การดูแล การติดตามสินค้า ที่จะนำไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (อ่านบทความเรื่อง โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน)…

Continue Reading

5PL (Fifth Party Logistics) คืออะไร

เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมยุค 5 G ในส่วนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ก็กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 5PL เช่นกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าคำว่า 5PL นั้นหมายความอะไร คงต้องขอย้อนกลับไปให้คำนิยามขอคำว่า 1PL 2PL 3PL และ 4PL พร้อมๆ กันเสียก่อน ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคยังปลายน้ำนั้นจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมด้านโลจิสติกส์เข้ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่ง การสื่อสารและประสานงาน เป็นต้น 1PL (First Party Logistics) จึงหมายถึง องค์กรธุรกิจที่เป็นผู้ทำกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยตนเอง เช่น ผู้ขาย หรือผู้ผลิตสินค้าเป็นผู้จัดเก็บสินค้า และขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากในปัจจุบันที่จะมีธุรกิจใดที่สามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์นั้นได้ด้วยตัวเองตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ หรือเริ่มแหล่งวัตถุดิบจนไปถึงปลายน้ำถึงหรือส่งมอบสินค้าถึงมือผู้บริโภค ดังนี้จึงทำให้เกิด 2PL 2PL (Second Party…

Continue Reading

Ep.1 โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ความหมาย ความสัมพันธ์ ข้อเท็จจริง

โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ความหมาย ความสัมพันธ์ ข้อเท็จจริง เมื่อพูดถึงคำว่าโลจิสติกส์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินคำนี้ คำว่าโลจิสติกส์ได้แทรกเข้ามาสู่ในสังคมของเรามานาน และเป็นที่รู้จักคุ้นหูในสังคมไทยเราเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐิกิจ และการพัฒนาประเทศของไทยเป็นอย่างมาก และอีกทั้งยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อีกด้วย ความหมาย โลจิสติกส์ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการขนส่ง แต่เป็นแนวคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการและการควบคุมการทำงานขององค์กรให้เกิดการเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรืออาจรวมถึงการบริการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความ พึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย - การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics…

Continue Reading

Ep.5 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานสุทธิ (NOWC)

เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินที่แต่ละบริษัทจำเป็นต้องมีการสำรองไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนนี้จะถูกใช้ไปในการซื้อสินค้าคงคลัง และให้เครดิตลูกหนี้ เป็นต้น โดยปกติแล้วเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น เงินทุนหมุนเวียนก็มักจะโตขึ้นตามไปด้วย และหากบริษัทสำรองเงินไว้ไม่พอก็อาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่องขึ้นได้ ในทางกลับกันหากบริษัทสำรองเงินไว้มากจนเกินไปก็อาจทำให้เสียโอกาสในการนำเงินส่วนดังกล่าวไปลงทุนให้บริษัทเติบโตขึ้นในอนาคต เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานสุทธิ (NOWC) นั้นเราสามารถคำนวณได้จาก สินทรัพย์หมุนเวียนจากการดำเนินงาน (OCA) - หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย (OCL) จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทนี้มี OCA (ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ + สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) อยู่ที่ 1,161.26 ล้านบาท ในขณะที่ OCL อยู่ที่ 1,047.65 ล้านบาท ทำให้ NOWC ของบริษัทนี้อยู่ที่ 1,161.26 - 1,047.65 =…

Continue Reading

Ep.4 หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย

นอกจากสินทรัพย์แล้ว อีกส่วนหนึ่งของงบดุลที่เราต้องพิจารณา คือ หนี้สินของบริษัท โดยที่หนี้สินของบริษัทนั้นสามารถแบ่งตามมุมมองของการมีภาระดอกเบี้ยออกได้ 2 ส่วน คือ หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย กับ หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย โดยหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยนั้นเกิดจากการที่บริษัทไปกู้หนี้ยืมสินมา ทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ เช่น บริษัทไปกู้เงินจากธนาคาร หรือการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีมากจนเกินไปย่อมไม่เกิดผลดี ส่วนหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ได้เกิดจากการที่บริษัทไปกู้หนี้ยืมสินมา แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทมีอำนาจต่อรองที่สูงกว่าลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานของบริษัท เช่น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีหนี้อยู่ 1,157.29 ล้านบาท แต่เป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่เพียง 109.64 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1,047.65 ล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าหนี้ที่บริษัทมีไม่ใช้หนี้ที่น่ากลัวแต่อย่างใด กลับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีอำนาจต่อรองที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ติดตาม…

Continue Reading

Ep.3 สินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงาน

เมื่อพิจารณาสินทรัพย์ของกิจการ สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องแยกออกมาให้ได้ คือ สินทรัพย์ใดบ้างที่บริษัทใช้ในการดำเนินงาน (Operating Asset) และสินทรัพย์ใดบ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (Non-operating Asset) การที่เราแยกสินทรัพย์ออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะนี้ จะทำให้เราทราบว่ารายได้ หรือกำไรของบริษัทจริง ๆ แล้วเกิดจากสินทรัพย์ในปริมาณเท่าไหรกันแน่ โดยสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานสามารถคำนวณได้จากงบการเงิน โดยนำเอาสินทรัพย์ทั้งหมด หัก เงินสด เงินลงทุน และสินทรัพย์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจออก เช่น ลูกหนี้อื่น สินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ในธุรกิจ เป็นต้น ตัวอย่างงบแสดงฐานะทางการเงิน จากตัวอย่าง จะพบว่าบริษัทมีสินทรัพย์อยู่ทั้งหมด 9,078.72 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทใช้สินทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจเพียง 5,248.91 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินลงทุน เงินฝาก และเงินสด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินกิจการ ติดตาม…

Continue Reading