Ph.D. in MIS
• หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566•


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย      :   หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ภาษาอังกฤษ  :   Doctor of Philosophy Program in Management Information System

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม  (ภาษาไทย)      : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
ชื่อย่อ   (ภาษาไทย)      : ปร.ด. (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
ชื่อเต็ม  (ภาษาอังกฤษ)  : Doctor of Philosophy Program (Management Information Systems)
ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ)   : Ph.D. (Management Information Systems)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีคุณสมบัติตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(1)  ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิตของหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศ หรือ
(2)  ผ่านการทำสารนิพนธ์ (Master Project) หรือการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง (Independent Study) ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตของหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศ และมีผลงานการวิจัยเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งสารนิพนธ์หรืองานวิจัยเพิ่มเติมนั้นต้องได้รับการเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ภาควิชาเห็นชอบ หรือ
(3)  ผ่านการทำปัญหาพิเศษ (Special Problem) หรือการศึกษาด้วยตนเอง (Independent Study) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิตของหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศ และมีผลงานการวิจัยเพิ่มเติมอย่างน้อย 2 เรื่อง ซึ่งปัญหาพิเศษ หรืองานวิจัยต้องได้รับการเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ภาควิชาเห็นชอบ
1.2  เป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด หรือตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ค่าใช้จ่าย

หลักสูตรภาคปกติ 50,000 บาท / ภาคการศึกษา จำนวน 6 ภาคการศึกษา รวมเป็นเงิน 300,000 บาท
หลักสูตรภาคพิเศษ 100,000 บาท / ภาคการศึกษา จำนวน 6 ภาคการศึกษา รวมเป็นเงิน 600,000 บาท

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

หลักสูตรภาคปกติ
วัน-เวลาราชการ         : วันจันทร์-วันศุกร์       เวลา  09.00-16.00 น.
หลักสูตรภาคพิเศษ
นอกวัน-เวลาราชการ  : วันเสาร์-วันอาทิตย์     เวลา  09.00-16.00 น.

โครงสร้างหลักสูตร

 แบบ 1.1
            วิทยานิพนธ์                                                50        หน่วยกิต
                            รวมตลอดหลักสูตร  50  หน่วยกิต

แบบ 2.1
            หมวดวิชาบังคับ                                            44        หน่วยกิต
               วิทยานิพนธ์                    36   หน่วยกิต
               วิชาบังคับ                      8   หน่วยกิต
            หมวดวิชาเลือก                                             06        หน่วยกิต
               วิชาเลือก                       6   หน่วยกิต
                            รวมตลอดหลักสูตร  50  หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

วิชาบังคับ
070217101   สถิติขั้นสูงสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ   
                     (Advanced Statistics for Management Information System)    
070217102   ระเบียบวิธีการวิจัยขั้นสูง 
                     (Advanced Research Methodology)
070217103   สัมมนาด้านระบบสารเทศเพื่อการจัดการ 1 
                    (Seminar in Management Information System I)
070217104  สัมมนาด้านระบบสารเทศเพื่อการจัดการ 2 
                   (Seminar in Management Information System II)

วิชาเลือก
070217201   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กร                 
                    (Management Information System in Organization)
070217202  หัวข้อพิเศษสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  
                   (Special Topic in Management Information System)
070217203  เชาว์ปัญญาธุรกิจดิจิทัล
                  (Digital Business Intelligence)   
070217206 การจัดการนวัตกรรม  
                  (Innovation Management)
070217207 การเตรียมพร้อมความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารระดับสูงด้านสารสนเทศ
                  (Professionalism Preparation for Chief Information Officer)

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แบบ 2
1.   สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
2.   ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามหลักสูตร
3.   ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
4.   เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5.    ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ จะต้อง
5.1  ได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอยู่ในฐาน SCOPUS จำนวนอย่างน้อย 1 ฉบับ และเสนอต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีรายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
5.2  ได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอยู่ในฐาน SCOPUS จำนวนอย่างน้อย 2 ฉบับ
6.  เกณฑ์อื่น ๆ
6.1  กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

คณะกรรมการรับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการวางแผนจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และทักษะทางวิชาชีพให้กับนักศึกษา โดยแต่ละปีการศึกษานักศึกษาจะได้รับความรู้เพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ 1   นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ รวมถึงงานวิจัยด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้ตามหลักทฤษฎี
เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ 2   นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ และงานวิจัยทางด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อหาคำตอบในการวิจัย และสามารถสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ 3   นักศึกษาสามารถสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยใหม่ ๆ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และ