12 ปัจจัย แห่งเศรษฐกิจยุคใหม่ Digital Economy Ep.01

12 ปัจจัยแห่งเศรษฐกิจยุคใหม่ ‘Digital Economy’ การทำความเข้าใจแก่นแท้ทั้ง 12 ประการจะทำให้คุณรู้ซึ้งถึงความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจยุคใหม่กับยุคเก่า มันทำให้คุณพร้อมรับมือและสร้างการเปลี่ยนรูปองค์กรของคุณได้สำเร็จ

ปัจจัยที่ 1 : องค์ความรู้
“เศรษฐกิจยุคใหม่คือ เศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้”
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เศรษฐกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์หรือ “เทคโนโลยีที่ฉลาด” อะไรก็ตามมันก็มีปัญญาของมนุษย์เป็นพื้นฐาน James Brian Quinn ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ Intelligent Enterprise ว่า “การยกระดับสติปัญญาและเพิ่มการสนับสนุน การมีเทคโนโลยีเพื่องานบริการ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงทำให้อุตสาหกรรมบริการเปลี่ยนรูปไปเท่านั้น แต่มันยังทำให้ภาคการผลิตของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนรูปไปทั่วทั้งประเทศอีกด้วย รวมถึงโครงสร้างการจ้างงานและจุดยืนของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ”

สินค้าและบริการจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญด้วยแนวคิดความรู้และเทคโนโลยี ที่แฝงอยู่ในตัวของพวกมันเอง เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่ “สินค้าฉลาด” เริ่มเข้ามาปฏิวัติสังคมในทุกแง่ทุกมุม

•    เสื้อผ้าสมาร์ท  
•    สมาร์ทการ์ด  
•    สมาร์ทเฮาส์  
•    สมาร์ทโรด  
•    สมาร์ทคาร์  
•    สมาร์ทไทร์  
•    สมาร์ททีวี  
•    สมาร์ทโฟน

ปัจจัยที่ 2 : เปลี่ยนเป็นดิจิทัล
“เศรษฐกิจยุคใหม่ คือ เศรษฐกิจดิจิทัล”
เปลี่ยนเป็นดิจิทัล – ทุกข้อมูล ทุกการสื่อสารจะเป็นระบบดิจิทัลทั้งการสื่อสารภายในและเทคโนโลยีอื่นๆ โดยยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ทุกอย่างอยู่ในรูปดิจิทัลหมด แล้วส่งผ่านเครือข่ายได้ง่ายมาก ข้อมูลจำนวนมหาศาลถูกบีบอัดแล้วส่งผ่านซึ่งกันและกันด้วยความเร็วเท่ากับแสง แถมคุณภาพงานที่ออกมาก็มีมากกว่าสมัยโบราณ

ปัจจัยที่ 3 : ความเสมือนจริง
“เมื่อข้อมูลถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นดิจิทัล สิ่งที่เคยจับต้องได้ก็จะกลายเป็นสิ่งเสมือนจริง มันจะเปลี่ยนกระบวนการเผาผลาญทางเศรษฐกิจ รูปแบบของสถาบันต่างๆ และความสัมพันธ์ รวมถึงธรรมชาติการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย”
ความเสมือนจริง – สิ่งจับต้องได้เปลี่ยนเป็นภาพเสมือนจริง ทำให้ความสัมพันธ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ เปลี่ยนรูปแบบไป เช่น สถานที่ทำงานไม่ต้องเข้าสำนักงาน สามารถทำงานที่ใดๆ ก็ได้ แล้วส่งงานผ่านอินเตอร์เน็ต, ตลาดสินค้า ไม่ต้องมีสถานที่โชว์สินค้า และสามารถซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้

สถานที่ทำงานไม่ต้องเข้าสำนักงาน สามารถทำงานที่ใดๆก็ได้ แล้วส่งงานผ่านอินเตอร์เน็ต, ตลาดสินค้า ไม่ต้องมีสถานที่โชว์สินค้า และสามารถซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้

• Virtual Alien
• Virtual Ballot Box
• Virtual Bulletin Board
• Virtual Business Park
• Virtual Congress (Virtual Hearing)
• Virtual Corporation
• Virtual Coupon
• Virtual Government Agency
• Virtual Job
• Virtual Mall
• Virtual Market
• Virtual Office
• Virtual Reality
• Virtual Store
• Virtual Stockyard

ปัจจัยที่ 4 : ขับเคลื่อนด้วยหน่วยย่อย
“เศรษฐกิจยุคใหม่เป็นเศรษฐกิจที่เกิดจากหน่วยย่อยเล็กๆ เข้ามารวมกังองค์กรขนาดใหญ่เทอะทะในแบบเดิมที่กำลังถูกปฏิเสธ แล้วแทนที่ด้วยกลุ่มของหน่วยย่อยเล็กๆที่มีอิสระ เข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนเองถนัด องค์กรไม่จำเป็นต้องล้มหายตายจาก เพียงแต่ต้องเปลี่ยนรูปตนเองจาก “ความใหญ่” ไปสู่ สิ่งย่อย”

ขับเคลื่อนด้วยหน่วยย่อย – เศรษฐกิจยุคใหม่ เกิดจากหน่วยย่อยเล็กๆ ที่มีอิสระเข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนเองถนัด องค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายในแบบเดิมกำลังถูกปฏิเสธ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ภายในองค์กร เราจึงพบวิธีการสื่อสารมากมาย ยกตัวอย่างเช่น สื่อขนาดใหญ่เพื่อคนหมู่มากกลายสภาพเป็น กลุ่มผู้อ่านและผู้ฟังที่พูดคุยโต้ตอบกันเองด้วยล้านแปดวิธี พวกเขาไม่รอตารางออกอากาศ แต่พวกเขาจะเลือกมันเอง สินค้าจึงถูกผลิตขึ้นมาจากแต่ละหน่วยย่อย แบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆ ผ่านระบบการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานกลาง ซึ่งซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ขององค์กรต้องออกแบบมาเพื่อให้ทำงานเป็นส่วนกับผู้อื่นๆ แบบนั้นให้ได้ และนักการตลาดต้องเปลี่ยนการทำตลาดเพื่อคนหมู่มากให้กลายเป็นหน่วยย่อยที่แตกต่างจากกัน ซึ่งต้องได้รับข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย

ปัจจัยที่ 5 : เครือข่ายบูรณาการ
“เศรษฐกิจยุคใหม่เป็นเศรษฐกิจแห่งเครือข่ายที่นำเอาแต่ละหน่วยย่อยมารวมกันเป็นกลุ่มก้อน”
เครือข่ายบูรณาการ – เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างแน่นแฟ้น สังคมการค้าตั้งอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูลสาธารณะ องค์กรยุคใหม่จะทำงานบนเครือข่ายซึ่งเปิดให้หน่วยงานย่อยเข้ามาทำงานร่วมกันได้ ระบบคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่จะเปลี่ยนเป็นเครื่องลูกย่อยๆ หลายตัว ดังนั้นเทคโนโลยียุคใหม่จึงเปิดทางสะดวกให้องค์กรขนาดเล็กได้เปรียบองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยการเข้าถึงทรัพยากรที่ไม่ด้วยกว่า แถมยังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎเกณฑ์ที่น้อยกว่า โครงสร้างองค์กรที่เรียบง่ายมากกว่า จึงมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ดีกว่า “องค์กรที่ทำงานอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต” จึงมีความหมายมากกว่าคำว่า “องค์กรเสมือน” มากมายนัก เพราะมันเข้าถึงลูกค้าที่อยู่ภายนอกได้ด้วย รวมทั้งปรับเงื่อนไขการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มผู้ให้บริการจากภายนอกใหม่ๆได้ตลอดเวลา

ปัจจัยที่ 6 : ไร้คนกลาง
“คนกลางที่ทำงานอยู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคจะหายไป ถ้าพวกเขาไม่เพิ่มคุณค่าให้ตนเอง”
ไร้คนกลาง – นายหน้า ตัวแทน พ่อค้าคนกลาง ที่อยู่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคจะหายไป เครือข่ายคอมพิวเอตร์จะเปลี่ยนเป็นต่อตรงหนึ่งต่อหนึ่ง ไม่ต้องผ่านศูนย์กลางหลายระดับ ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องวิตกกังวล หากคุณอยู่ในธุรกิจเป็นสื่อกลางหรือเป็นพ่อค้าคนกลาง ทุกธุรกิจที่เป็นตัวแทนนายหน้า เป็นผู้ทำรายการแทนให้เป็นผู้ทำรายการแทนให้ ในยุคก่อนดิจิทัลมาถึงต้องปรับเปลี่ยนตนเองใหม่ นักดนตรีไม่ต้องการผู้รับจ้างบันทึกเสียงแล้ว อีกทั้งไม่ต้องการร้านจัดจำหน่าย ไม่ต้องการสื่อพิมพ์โฆษณา ผู้ผลิตอาหารไม่ต้องการตัวแทนขายส่ง ไม่ต้องการห้างสรรพสินค้า เพราะผู้บริโภคสั่งสินค้าให้มาส่งถึงบ้านได้ด้วยตนเอง

ปัจจัยที่ 7 : หลอมรวมเป็นหนึ่ง
“ในเศรษฐกิจยุคใหม่ ภาคธุรกิจที่มีความสำคัญ และประสบความสำเร็จได้โดยการสนับสนุนมาจากภาคธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว”
หลอมรวมเป็นหนึ่ง – กุญแจสำคัญทางเศรษฐกิจมารวมตัวกัน ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสาร และเนื้อหาสาระ องค์กรจะปรับตัวให้ตอบสนองต่อกุญแจทั้ง 3 ดอกนั้น จะต้องมีการรวมระบบการสื่อสาร และเนื้อหาสาระเข้าในเทคโนโลยีเดียวกัน

ปัจจัยที่ 8 : นวัตกรรม
“เศรษฐกิจยุคใหม่ตั้งอยู่บนเศรษฐกิจแห่งนวัตกรรม”
นวัตกรรม – เป็นกุญแจสำคัญของการทำธุรกิจและความสำเร็จ จินตนาการของมนุษย์มาแทน วัตถุดิบ ต้นทุน และการเพิ่มผลผลิต
โดยกุญแจหลักของเศรษฐกิจยุคใหม่นี้ก็คือ “นวัตกรรม” รวมทั้งคำมั่นที่จะทบทวนมันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสินค้า กระบวนการ ระบบงาน การตลาด และผู้คน

ปัจจัยที่ 9 : ผู้บริโภคร่วมผลิต
“ความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคพร่าเลือนในเศรษฐกิจยุคใหม่”
ผู้บริโภคร่วมผลิต – เส้นแบ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิตลางเลือน ลูกค้าเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้ามากขึ้น ทั้งในขั้นตอนการผลิตและความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
เช่น – บริษัทไครส์เลอร์ ยินยอมให้ลูกค้าสังผลิตรถรุ่นพิเศษตามความต้องการภายในเวลา 16 วัน
– หรือการที่ดูข่าวภาคค่ำอยู่ที่บ้านแต่ในโลกยุคใหม่ ลูกค้าเลือกชมเฉพาะข่าวที่สนใจจากแหล่งข่าวที่ตนเองเชื่อถือในเวลาและสถานที่ที่ต้องการได้

ปัจจัยที่ 10 : ทันการณ์
“ในระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนข้อมูล “1”และ”0” ความทันต่อเหตุการณ์คือกุญแจสำคัญต่อทุกกิจกรรมและความสำเร็จ”
ทันการ – นี่คือยุคของ Real-time ที่ทุกอย่างทำงานด้วยความเร็วแสง
เช่น วงจรชีวิตของสินค้ากำลังตั้งอยู่บนปากเหว กล่าวคือในปี 1990 นั้นจากภาพร่างจนผลิตเป็นรถยนต์ออกมาใช้เวลาทั้งสิน 6 ปีด้วยกัน แต่ทุกวันนี้มันลดลงเหลือแค่ 2 ปี และจะรวดเร็วขึ้นอีก

ปัจจัยที่ 11 : โลกาภิวัตน์
“เศรษฐกิจยุคใหม่คือ เศรษฐกิจของทั้งโลก”
โลกาภิวัตน์ – ความรู้ไม่มีขอบเขต ไม่มีใครเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ความเป็นเอกภาพไร้ความหมายในเชิงเศรษฐกิจ องค์กรยุคใหม่ต้องทำให้เวลาและสถานที่ไม่มีความหมาย ทีมงานทั้งหมดสามารถทำงานจากที่แห่งใดในโลกก็ได้

ปัจจัยที่ 12 : ความไม่ลงรอย
“แต่เครือข่ายสังคมกำลังสร้างความบาดหมางขึ้นด้วยเช่นกัน”
ความไม่ลงรอย – ความขัดแย้งในสังคมกำลังขยายตัว แรงงานไร้ฝีมือจะต่อต้านและตกงาน ช่องว่างจะขยายออกอย่างมหาศาล ระหว่างผู้ที่มีความรู้และไม่มี หรือผู้ที่เข้าถึงเครือข่ายได้กับผู้ที่เข้าไม่ถึงเครือข่าย ผลประโยชน์ตอบแทน จะเปลี่ยนจากจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน จะเปลี่ยนเป็นโครงการหรือชิ้นงานโดยปริยาย ลักษณะการว่างจ้างจะเปลี่ยนไป จากการจ้างแรงงานจะปรับเปลี่ยนเป็นการจ้างทำของการสรรหาและรักษาไว้ซึ่งบุคลากร การสรรหาบุคลากรที่สามารถทำงานภายใต้ปัจจัยของยุคดิจิทัลที่อาจทำได้ยากขึ้น ในตลาดแรงงาน ผู้ที่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ว่านี้หายากในตลาด

แหล่งที่มาอ้างอิง: คุณธรวัฒน์ ดวงอุดม (คอลัมน์ Article จาก วารสาร People Magazine)
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ
อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชา MIS
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Leave a Reply