Multiple Intelligence Cluster

การจัดการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences หรือ MI) ของการ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ได้ศึกษาถึงศักยภาพ และความถนัดของคนโดยการผสมผสานเกี่ยวกับสมอง และจิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำไปใช้ในทุกวงการ และนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา (เยาวพา, 2551)โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ และผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งการ์ดเนอร์เชื่อว่า ปัญญาหมายถึง โครงสร้างทางชีวจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวสร้างแหล่งความคิดของคนเราซึ่งจะส่งผลต่อเนื้อหาแต่ละด้าน และยังมีผลมาจากองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ พันธุศาสตร์ และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งผสมผสานระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม การ์ดเนอร์เชื่อว่าคนทั่วไปจะมีปัญญาหลายด้านโดยได้นำเสนอไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความสามารถทางปัญญาด้านภาษา  2) ความสามารถทางปัญญาด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ 3) ความสามารถทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์หรือด้านภาพ 4) ความสามารถทางปัญญาด้านดนตรีและจังหวะ 5) ความสามารถทางปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 6) ความสามารถทางปัญญาด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล  7) ความสามารถทางปัญญาด้านความเข้าใจ 8)  ความสามารถทางปัญญาด้านธรรมชาติ และ 9) ความสามารถทางปัญญาด้านอัตถภวนิยมหรือการดำรงอยู่ โดยแต่ละด้านจะขึ้นกับความสามารถ แต่จะแอบแฝงและแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ระบบภาษา ระบบภาพหรือสัญลักษณ์ ระบบเขียน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะแสดงออกมาในรูปของวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง