Ep.6 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

หลังจากที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับงบแสดงฐานะทางการเงินมาแล้ว วันนี้เราจะมารู้จักกับงบที่ 2 คือ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นงบที่ใช้แสดงถึงผลประกอบการของบริษัทในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น หากเป็นงบรายไตรมาสก็จะแสดงให้เห็นว่า 3 เดือนที่ผ่านมาบริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้หรือไม่ เป็นต้น โดยงบนี้จะเริ่มต้นจากรายได้ในส่วนที่ 1 หักต้นทุนขายในส่วนที่ 2 จะกลายเป็นกำไรขั้นต้นในส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสามารถในการแข่งขันของบริษัท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่สูงหมายความว่าบริษัทมีอำนาจต่อรองที่ค่อนข้างสูงด้วย จากกำไรขั้นต้นหักค่าใช้จ่ายอื่นในส่วนที่ 4 จะได้กำไรจากการดำเนินงานในส่วนที่ 5 หรือ EBIT ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจากการดำเนินงานทั้งหมดบริษัทมีผลกำไรเท่าไหร โดยค่าใช้จ่ายอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งหมายรวมถึงค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วย จากกำไรจากการดำเนินงานหักดอกเบี้ยและภาษีในส่วนที่ 6 จะเป็นกำไรสุทธิของบริษัทในส่วนที่ 7 ซึ่งบริษัทสามารถเก็บกำไรส่วนนี้ไว้ลงทุนต่อ หรือจ่ายปันผลออกมาก็ได้ จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทนี้มี รายได้ 5,832.78 ล้านบาทต้นทุนขาย (COGs)…

Continue Reading

Ep.5 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานสุทธิ (NOWC)

เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินที่แต่ละบริษัทจำเป็นต้องมีการสำรองไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนนี้จะถูกใช้ไปในการซื้อสินค้าคงคลัง และให้เครดิตลูกหนี้ เป็นต้น โดยปกติแล้วเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น เงินทุนหมุนเวียนก็มักจะโตขึ้นตามไปด้วย และหากบริษัทสำรองเงินไว้ไม่พอก็อาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่องขึ้นได้ ในทางกลับกันหากบริษัทสำรองเงินไว้มากจนเกินไปก็อาจทำให้เสียโอกาสในการนำเงินส่วนดังกล่าวไปลงทุนให้บริษัทเติบโตขึ้นในอนาคต เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานสุทธิ (NOWC) นั้นเราสามารถคำนวณได้จาก สินทรัพย์หมุนเวียนจากการดำเนินงาน (OCA) - หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย (OCL) จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทนี้มี OCA (ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ + สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) อยู่ที่ 1,161.26 ล้านบาท ในขณะที่ OCL อยู่ที่ 1,047.65 ล้านบาท ทำให้ NOWC ของบริษัทนี้อยู่ที่ 1,161.26 - 1,047.65 =…

Continue Reading

Ep.4 หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย

นอกจากสินทรัพย์แล้ว อีกส่วนหนึ่งของงบดุลที่เราต้องพิจารณา คือ หนี้สินของบริษัท โดยที่หนี้สินของบริษัทนั้นสามารถแบ่งตามมุมมองของการมีภาระดอกเบี้ยออกได้ 2 ส่วน คือ หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย กับ หนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย โดยหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยนั้นเกิดจากการที่บริษัทไปกู้หนี้ยืมสินมา ทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ เช่น บริษัทไปกู้เงินจากธนาคาร หรือการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีมากจนเกินไปย่อมไม่เกิดผลดี ส่วนหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ได้เกิดจากการที่บริษัทไปกู้หนี้ยืมสินมา แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทมีอำนาจต่อรองที่สูงกว่าลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานของบริษัท เช่น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีหนี้อยู่ 1,157.29 ล้านบาท แต่เป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่เพียง 109.64 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1,047.65 ล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าหนี้ที่บริษัทมีไม่ใช้หนี้ที่น่ากลัวแต่อย่างใด กลับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีอำนาจต่อรองที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ติดตาม…

Continue Reading

Ep.2 งบแสดงฐานะการเงิน

ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ของ ซี่รี่ย์ Finance 101 ในตอนที่ชื่อว่า "งบแสดงฐานะทางการเงิน" หรือ "งบดุล" โดยวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับงบนี้กันครับ งบดุลแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของทุน ส่วนประกอบของงบดุล โดยมีสมการบัญชีง่าย ๆ อยู่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของทุน นั้นหมายความว่าสินทรัพย์ของเราจะมีที่มาของเงินทุนอยู่ 2 แหล่ง คือ เงินของเราเอง กับ เงินที่เราไปกู้มา เช่น รถหนึ่งคันราคา 1 ล้านบาท ถ้าเรากู้มา 8…

Continue Reading