E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

E-Business และ E-Commerce ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อการประสานงาน เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล การไหลของข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนในการใช้กระดาษ การลดต้นทุนการเดินทาง ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของธุรกิจให้เป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า E-Business และ E-Commerce มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตนั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้มีการเรียกชื่อแตกย่อยเป็นกระบวนการต่างๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ E-Business, E-Commerce, E-Collaboration, E-CRM, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Business Intelligence…

Continue Reading

Warehouse Management Vs Inventory Management

Warehouse management และ Inventory management มีความแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจสงสัย เนื่องจากในการทำงานของทั้ง 2 เรื่องมีบางสิ่งที่คล้ายกันจนบางครั้งมีการนำใช้เป็นคำเรียกแทนกันในการทำงาน หรือมีการออกแบบระบบงานให้ครอบคลุมถึงกัน อย่างเช่น ระบบ Warehouse Management System (WMS) ที่มีอยู่ในท้องตลาดบางระบบก็มีฟังก์ชันการทำงานของ Inventory management รวมอยู่ด้วย ความแตกต่างระหว่างการจัดการคลังสินค้า และการจัดการสินค้าคงคลัง แท้จริงแล้ว 2 คำนี้มันคืออะไร มีความคล้ายกันหรือความแตกต่างกันอย่างไร ความคล้ายกัน ก่อนที่เราจะไปพูดถึงความแตกต่างกันระหว่างคำ 2 คำนี้ สิ่งแรกที่ควรจะทราบก็คือ ทั้งคู่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า การดูแล การติดตามสินค้า ที่จะนำไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (อ่านบทความเรื่อง โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน)…

Continue Reading

5PL (Fifth Party Logistics) คืออะไร

เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมยุค 5 G ในส่วนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ก็กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 5PL เช่นกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าคำว่า 5PL นั้นหมายความอะไร คงต้องขอย้อนกลับไปให้คำนิยามขอคำว่า 1PL 2PL 3PL และ 4PL พร้อมๆ กันเสียก่อน ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคยังปลายน้ำนั้นจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมด้านโลจิสติกส์เข้ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่ง การสื่อสารและประสานงาน เป็นต้น 1PL (First Party Logistics) จึงหมายถึง องค์กรธุรกิจที่เป็นผู้ทำกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยตนเอง เช่น ผู้ขาย หรือผู้ผลิตสินค้าเป็นผู้จัดเก็บสินค้า และขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากในปัจจุบันที่จะมีธุรกิจใดที่สามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์นั้นได้ด้วยตัวเองตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ หรือเริ่มแหล่งวัตถุดิบจนไปถึงปลายน้ำถึงหรือส่งมอบสินค้าถึงมือผู้บริโภค ดังนี้จึงทำให้เกิด 2PL 2PL (Second Party…

Continue Reading

Ep.1 โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ความหมาย ความสัมพันธ์ ข้อเท็จจริง

โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ความหมาย ความสัมพันธ์ ข้อเท็จจริง เมื่อพูดถึงคำว่าโลจิสติกส์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินคำนี้ คำว่าโลจิสติกส์ได้แทรกเข้ามาสู่ในสังคมของเรามานาน และเป็นที่รู้จักคุ้นหูในสังคมไทยเราเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐิกิจ และการพัฒนาประเทศของไทยเป็นอย่างมาก และอีกทั้งยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อีกด้วย ความหมาย โลจิสติกส์ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการขนส่ง แต่เป็นแนวคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการและการควบคุมการทำงานขององค์กรให้เกิดการเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรืออาจรวมถึงการบริการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความ พึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย - การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics…

Continue Reading