M.Sc. in MIS

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management of Information Systems: MIS)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย      :   หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ภาษาอังกฤษ :   Master of Science Program in Management Information System

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม  (ภาษาไทย)      : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
ชื่อย่อ   (ภาษาไทย)      : วท.ม. (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
ชื่อเต็ม  (ภาษาอังกฤษ)  : Master of Science (Management Information Systems)
ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ)   :  M.Sc. (Management Information Systems

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ซึ่งศึกษาวิชาด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ตามระบบทวิภาคจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศ
  2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
    ผู้ไม่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2          
หมวดวิชาบังคับ                                            30        หน่วยกิต
               วิชาบังคับ                      18   หน่วยกิต
               วิทยานิพนธ์                   12   หน่วยกิต
           หมวดวิชาเลือก                                             6         หน่วยกิต
               วิชาเลือก                       6   หน่วยกิต
                            รวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต

แผน ข การค้นคว้าอิสระ        
หมวดวิชาบังคับ                                            30        หน่วยกิต
               วิชาบังคับ                      18   หน่วยกิต
               การค้นคว้าอิสระ             6   หน่วยกิต
           หมวดวิชาเลือก                                             12         หน่วยกิต
               วิชาเลือก                       12   หน่วยกิต
                            รวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

วิชาบังคับ
070255101 สถิติและระเบียบวิธีวิจัยทางระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ    
(Statistics and Research Methodology for Management  Information System)
070215102 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
(Strategic Information System)
070215103 การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ 
                   (Information Technology Project Management)
070215104 การวางแผนทรัพยากรองค์กร 
                  (Enterprise Resource Planning)
070215105 เศรษฐกิจดิจิทัล    
                  (Digital Economy)
070215106 ธุรกิจอัจฉริยะและวิทยาการวิเคราะห์
                  (Business Intelligence and Analytics)

วิชาเลือก
070215201  การจัดการลูกค้าสัมพันธ์      
                    (Customer Relationship Management)    
070215203 โลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 
                   (Logistics and Supply Chain Management)
070215204 การบริหารด้านการเงินสำหรับธุรกิจเชิงดิจิทัล   
                   (Financial Management for Digital Business)
070215208 การเตรียมความพร้อมในการจัดการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมืออาชีพ   
                   (Information Technology Management Professionalism Preparation)
070215209 กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับธุรกิจ  
                   (Business Design Thinking Process)
070215210 เทคโนโลยีทางการเงิน  
                   (Fintech)
070215211 สตาร์ทอัพนวัตกรรมดิจิทัล
                   (Digital Innovation Startup)
070215212 เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับงานธุรกิจ
                   (Digital Technology for Business)
070215213 วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการทำเหมืองข้อมูล 
                   (Big Data Analytics and Data Mining)
070215303 ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการบริหารความมั่นคงสารสนเทศ 
                   (Cyber Security and Information Assurance Management)
070215305 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับธุรกิจดิจิทัล  
                   (Internet of Things for Digital Business)
070215307 เรื่องคัดเฉพาะทางด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับธุรกิจดิจิทัล
                   (Selected Topic in Management of Information System

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แผน ก แบบ ก 2 ผู้สำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้
1. ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2. ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
3. เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
4. การตีพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)  ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Full Proceedings) ดังกล่าวจำนวน 1 เรื่อง
5. เกณฑ์อื่น ๆ กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนดสอบผ่านภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานการวัดระดับการใช้ภาษาอังกฤษในระดับสากล สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

แผน ข ผู้สำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้
1. ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2. ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
3. สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ ด้วยข้อเขียนและปากเปล่า
4. เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5. รายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระ ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
6. เกณฑ์อื่น ๆ กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่หลักสูตรกำหนด
สอบผ่านภาษาอังกฤษตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานการวัดระดับการใช้ภาษาอังกฤษในระดับสากล สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้มีการวางแผนจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ และทักษะทางวิชาชีพให้กับนักศึกษา โดยแต่ละปีการศึกษานักศึกษาจะได้รับความรู้เพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษา
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ 1   นักศึกษาจะต้องมีความรู้ คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ทางด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อแก้ปัญหาที่ตรงตามความต้องการ ในสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ 2   นักศึกษาสามารถออกแบบ ประยุกต์ พัฒนา และดำเนินการทดลองด้านระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อสร้างคำตอบที่ตรงตามความต้องการตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของนักวิจัย